อาการปวดเข่าสามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยสูงอายุ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเสื่อมตามวัยของข้อเข่า จากการใช้งานมาเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดการบางตัวของกระดูกผิวข้อ เกิดการเสียดสีภายในข้อเข่า เป็นสาเหตุให้เกิดอาการขัด เจ็บภายในข้อเข่า
จากการศึกษาพบว่าปัจจัยหลักที่ส่งเสริมการเสื่อมของข้อเข่า คือ น้ำหนักตัวที่มากเกิดเกณฑ์ที่เหมาะสม ปัจจัยอื่นๆที่ส่งเสริมการเสื่อมของข่อเข่าก่อวัย ได้แก่ การบาดเจ็บซ้ำๆของข่อเข่า โรคข้อต่างๆ รูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคเก๊าท์
ข้อเข่าประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ
1.กระดูกปลายต้นขา และ กระดูกหน้าแข้ง
2.ลูกสะบ้า
3. กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อ
4. เส้นประสาทรับความรู้สึกรอบๆข้อ
ข้อเข่ามีลักษณะคล้ายข้อพับ มีกระดูกอ่อนหุ้มส่วนปลายเพื่อลดแรงกระแทก ลดแรงเสียดทาน เมื่อข้อเข่าเสื่อม เกิดแรงเสียดทานภายในข้อเกิดการอักเสบของเยื่อบุรอบๆข้อ เกิดความเจ็บปวดส่งไปตามกระแสประสาทรับความรู้สึก ทำให้ผู้ป่วยรับความเจ็บปวดของข้อเข่าตามมา
อาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อม
- อาการโรคข้อเข่าเสื่อมระยะแรก: เริ่มปวดเข่าตอนเคลื่อนไหว เช่น เดิน วิ่ง ขึ้นบันได ย่อขา แต่อาการจะหายไปหรือดีขึ้นเมื่อทำกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้ข้อเข่า เวลามีการเคลื่อนไหวบางคนจะมีอาการเสียวหัวเข่า ข้อฝืดเมื่อหยุดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานานเมื่อขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ
- อาการโรคข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง: อาการปวดเข่า เจ็บเข่าจะรุนแรงมากขึ้นบางครั้งปวดเวลากลางคืนเมื่อเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาเต็มที่จะมีอาการปวดหรือเสียวบริเวณกระดูกสะบ้าหากมีการอักเสบจะมีข้อบวมร้อนและตรวจพบน้ำในช่องข้อถ้ามีข้อเสื่อมมานานจะพบว่าเหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุดกล้ามเนื้อต้นขาลีบข้อเข่าโก่งหลวมหรือบิดเบี้ยวผิดรูปทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบากและมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับ
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
- การรักษาโดยไม่ใช้ยาโดยลดการกดที่ข้อเข่า คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม การใช้ประคบร้อน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่ง ยืน เดิน ควรลดน้ำหนักตัว ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หรืออาจจะใช้ไม้เท้าช่วยเดินเพื่อลดแรงกดในช่วงที่พยายามลดอาการเจ็บเข่า ปวดเข่า
- การรักษาโดยการใช้ยา
- ยาแก้ปวดพาราเซตามอลเป็นยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกในกรณีที่ปวดไม่มากให้ประสิทธิผลดีและปลอดภัย
- ยาทาเฉพาะที่ประเภทยาแก้ปวดและต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ใช้ทานวดซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความร้อนเฉพาะที่
- ยาต้านการอักเสบแบบไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs)ในรูปของยากินและยาฉีดจะช่วยลดอาการปวดและอักเสบได้ดีควรใช้ยาอย่างระมัดระวัง ยาคลายกล้ามเนื้อการอักเสบทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบเกร็งตึงได้การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
- การฉีดน้ำข้อเข่าเทียม
- การรักษาโดยหัตถการระงับปวด การฉีดยาชาร่วมกับยาต้านการอักเสบไปยังเส้นประสาทรับความรู้สึกของข้อเข่า หรือ การจี้เส้นประสาทรับความรู้สึกของข้อเข้าด้วยคลื่นความถี่วิทยุ เพื่อผลการรักษาที่ยาวนานขึ้น การจี้เส้นประสาทด้วนคลื่นความถี่วิทยุ ทำให้สามารถชะลอการผ่าตัดออกไปได้ และยังใช้รักษากรณีผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อแล้วยังคงมีอาการปวดเรื้อรังไม่ได้ผลดีจากการผ่า
- การรักษาด้วยการผ่าตัดข้อเข่าเปลี่ยนข้อเข่าเทียม