คลินิกระงับปวด
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

คลินิกระงับปวด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการวินิจฉัยสาเหตุและพยาธิสภาพที่แท้จริงของอาการปวด

ที่มาของคลีนิคระงับปวด

หลังการก่อตั้งแผนกวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. 2508 ขณะนั้นมีความขาดแคลนวิสัญญีแพทย์อย่างมาก จึงได้มีการฝึกฝนแพทย์ที่มีความสนใจสาขาวิชานี้ เพื่อทำงานเป็นวิสัญญีแพทย์ในเวลาต่อมา พ.ศ. 2510 ศาสตราจารย์นายแพทย์นิยม ฉิมะวงษ์ และศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์ศริพร วณิเกียรติ ได้ริเริ่มให้มีการเรียนการสอนวิสัญญีวิทยาในลักษณะการบรรยายเป็นประจำ และการอภิปรายปัญหาผู้ป่วยให้แก่ศิษย์ในขณะนั้นซึ่งมีเพียง 3 คน ระยะต่อมาจึงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการเรียนการสอนเป็นระบบและเป็นสากลมากขึ้น   ในปี พ.ศ. 2516 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาทางวิสัญญีวิทยาอย่างเป็นทางการและมีหลักสูตรสอนแพทย์หลังปริญญา เพื่อประกาศนียบัตรชั้นสูงทางคลินิก สาขาวิสัญญีวิทยา ของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตามจึงก่อให้เกิดหน่วยระงับปวด ในเวลาต่อมา ซึ่งความปวดเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ผู้ป่วยมารับการรักษาในโรงพยาบาล การบำบัดความปวดมีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยทุกสาขา องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ความปวดเป็นสัญญาณชีพที่ 5 และเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ป่วยที่จะได้รับการบำบัดความปวดอย่างเหมาะสม การจัดการกับความปวดที่ไม่เหมาะสมนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนหรือโรคเรื้อรังที่ซับซ้อน ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้ป่วย ครอบครัวและสังคมรอบด้าน วิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตเพิ่มขึ้นหรือมีอาการปวดซ้ำ เช่น โรคมะเร็ง ความปวดเรื้อรังหลังการผ่าตัด (post-surgical pain syndrome) อาการปวดจากภาวะแทรกซ้อนจากเคมีบำบัดและรังสีรักษา เป็นต้น นอกจากนี้ อุบัติการณ์ของโรคที่เกิดจากการทำงานหรือภาวะเสื่อมถอยของร่างกายเพิ่มขึ้น เช่น อาการปวดหลัง ปวดคอ หรือปวดข้อเรื้อรัง (chronic musculoskeletal pain) หรือความปวดเนื่องจากพยาธิสภาพของระบบประสาท (neuropathic pain) 

แพทย์ทุกท่านเป็นแพทย์วิสัญญีวิทยาซึ่งศึกษาต่อยอดเฉพาะทางด้านการระงับปวดมาจากทั้งในและต่างประเทศ การระงับปวดของคลินิกระงับปวด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงเป็นการระงับปวดที่มีความชำนาญเฉพาะทางอย่างสูง 

เป้าหมายของการรักษาความปวด
  • เพื่อลดความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้สะดวกมากขึ้น
  • เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
  • เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย
ชนิดของอาการปวด
  • ปวดมะเร็ง
  • ปวดกระดูกสันหลัง
  • ปวดข้อต่าง ๆ ของร่างกายจากความเสื่อม เช่น เข่าเสื่อม
  • ปวดจากการออกกำลังกาย เช่น การฉีกขาดของเส้นเอ็น
  • ปวดศีรษะและใบหน้าเรื้อรัง
  • อาการปวดอื่น ๆ จากเส้นประสาท
  • อาการปวดเฉียบพลันหลังการผ่าตัด
  • อาการปวดเรื้อรังอื่น ๆ

ชนิดของอาการปวด

ปวดมะเร็ง

ปวดกระดูกสันหลัง

ปวดข้อต่าง ๆ ของร่างกาย
จากความเสื่อม เช่น เข่าเสื่อม

ปวดจากการออกกำลังกาย
เช่น การฉีกขาดของเส้นเอ็น

ปวดศีรษะและใบหน้าเรื้อรัง

อาการปวดอื่น ๆ
จากเส้นประสาท

อาการปวดเฉียบพลัน
หลังการผ่าตัด

อาการปวดเรื้อรังอื่น ๆ

อาการปวดทุกชนิดสามารถรักษาได้
ถ้าเข้าใจและรักษา
จากการวินิจฉัยที่ตรงจุด

อาการปวดทุกชนิดสามารถรักษาได้
ถ้าเข้าใจและรักษา
จากการวินิจฉัยที่ตรงจุด

ติดตามอาการโดย
แพทย์เจ้าของไข้

การรักษาของคลินิกระงับปวด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้ป่วยทุกท่านจะอยู่ในการควบคุมดูแลของอาจารย์แพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการระงับปวดจึงมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะไม่ถูกทอดทิ้งและจะได้รับการบริการดูแลที่ดีที่สุดอย่างทั่วถึง

การติดตามอาการทางคลินิกมักจะติดตามอาการเป็นเวลา 2 สัปดาห์หลังการทำหัตถการและนัดหมายเพื่อดูอาการซึ่งหากอาการปวดของผู้ป่วยสามารถควบคุมได้ดี แพทย์จะทำการนัดหมายเพื่อดูอาการในครั้งต่อไประยะเวลาที่นานออกไป เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการเดินทางมาโรงพยาบาล

ผู้ป่วยสามารถติดต่อคลินิกระงับปวดได้ทุกวันตามเวลาราชการ โดยจะมีทีมแพทย์และพยาบาลคอยดูแลและตอบคำถาม หากนอกเวลาราชการจะมีทีมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดที่ประจำอยู่ดูแล โดยสามารถเข้ามารับการรักษาอาการปวดที่ห้องฉุกเฉินได้ ซึ่งจะได้รับการดูแลเช่นเดียวกับในเวลาราชการ

ประวัติความเป็นมา

หลังการก่อตั้งแผนกวิสัญญีวิทยา

หลังการก่อตั้งแผนกวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ขณะนั้นมีความขาดแคลนวิสัญญีแพทย์อย่างมาก จึงได้มีการฝึกฝนแพทย์ที่มีความสนใจสาขาวิชานี้ เพื่อทำงานเป็นวิสัญญีแพทย์

ริเริ่มให้มีการเรียนการสอนวิสัญญีวิทยา

ศาสตราจารย์นายแพทย์นิยม ฉิมะวงษ์ และศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์ศริพร วณิเกียรติ ได้ริเริ่มให้มีการเรียนการสอนวิสัญญีวิทยาในลักษณะการบรรยายเป็นประจำ และการอภิปรายปัญหาผู้ป่วยให้แก่ศิษย์ในขณะนั้นซึ่งมีเพียง 3 คน ระยะต่อมาจึงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการเรียนการสอนเป็นระบบและเป็นสากลมากขึ้น

เริ่มเปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาทางวิสัญญีวิทยาอย่างเป็นทางการและมีหลักสูตรสอนแพทย์หลังปริญญา เพื่อประกาศนียบัตรชั้นสูงทางคลินิก สาขาวิสัญญีวิทยา ของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ.2508
พ.ศ.2510
พ.ศ.2516

ทำความรู้จัก
คุณหมอของเรา

แพทย์ทุกท่านเป็นแพทย์วิสัญญีวิทยา ซึ่งศึกษาต่อยอดเฉพาะทางด้านการระงับปวดมาจากทั้งในและต่างประเทศ การระงับปวดของคลินิคระงับปวด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงเป็นการระงับปวดที่มีความชำนาญเฉพาะทางอย่างสูง