อาการปวดสะโพก สาเหตุหลักที่สามารถพบได้บ่อย คือ ข้อสะโพกเสื่อมตามวัย พบได้บ่อยในคนไข้สูงอายุตั่งแต่ 40ปีขึ้นไป หรือ อาจพบได้ในบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น มีประวัติประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อสะโพก รับประทานยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณข้อสะโพก ทำให้เกิดภาวะข้อสะโพกเสื่อมตามมาได้
ส่วนประกอบของข้อสะโพก
ข้อสะโพกเกิดจากการต่อกันของเบ้ากระดูก และ หัวกระดูกข้อสะโพก ทำหน้าที่เป็นข้อต่อ โดยมีกระดูกอ่อนบุผิวเพื่อลดแรงเสียดทานภายในข้อ เมื่ออายุมากขึ้น มีการเสื่อมของกระดูกอ่อนบุผิว มีการปรับตัวทำให้กระดูกอ่อนบุผิวบางลง สร้างกระดูกงอกขึ้นภายในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง มีอาการขัดเจ็บเกิดขึ้นภายในข้อ การเคลื่อนไหวที่น้อยลงส่งผลให้กล้ามเนื้อรอบๆข้อฝ่อลีบ แรงกระแทกจึงเกิดกับผิวจ้อมากขึ้น เป็นปัจจัยเสริมทำให้เกิดการบาดเจ็บของข้อสะโพกได้มากขึ้น
อาการสำคัญ
- มีอาการปวดร่วมกับข้อที่ขัด
- อาการปวดร้าวไปบริเวณก้น ขาหนีบ เข่า ร่วมด้วยได้
- อาการปวดเป็นมากขึ้นเวลานั่งนาน เดินนาน
- เยื่อหุ้มข้อระคายเคืองเกิดการอักเสบ และสร้า
งน้ำในข้อมากขึ้น ทำให้เกิดอาการบวมบริเวณข้อสะโพก
แนวทางการรักษา
1.ลดปัจจัยเสี่ยง เพื่อชะลอการดำเนินไปของโรค ได้แก่
– การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
– ออกกำลังกาย เพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆข้อสะโพก
2.การระงับปวด
– ทานยาแก้ปวดบรรเทาอาการปวด เช่น ยาแก้ปวดพาราเซตามอลเป็นยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกในกรณีที่ปวดไม่มากให้ประสิทธิผลดีและปลอดภัย, ยาแก้ปวดกลุ่มNSAID (ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์)
การรักษาโดยหัตถการเพื่อการระงับปวด –
- การฉีดยาชาและลดการอักเสบไประงับความรู้สึกปวดที่เส้นประสาทรับความรู้สึกรอบๆข้อ โดยยังมีผลทำให้การอักเสบลดลง เหมาะสำหรับการเสื่อมที่เป็นน้อย
- การทำลายเส้นประสาทรับความรู้สึกรอบข้อด้วยคลื่นความถี่วิทยุ เป็นการรักษาการปวดข้อที่ได้ผลยาวนานกว่าการฉีดยา เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัด หรือต้องการชะลอการผ่าตัด
3.การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก