กลับ Academic articles

การฝังเครื่องให้ยาแก้ปวดเข้าช่องไขสันหลัง
(Intrathecal drug delivery system, IDDS)

เครื่องให้ยาแก้ปวดเข้าช่องไขสันหลังมี เป็นเครื่องที่ใช้แบตเตอรี่ในการเดินยาเข้าช่องไขสันหลังช้าๆอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ป่วยได้ยาที่ต้องการเข้าสู่ที่ออกฤทธิ์หรือสมองได้ทันที่โดยไม่ต้องผ่านการดูดซึมจาก กระเพาะ และ ทางเดินอาหาร  ยาที่ได้จะเข้าไปผสมกับน้ำไขสันหลังและอาบบริเวณไขสันหลัง ซึ่งต่อกับสมอง ทำให้ การทำงานของกระแสประสาทที่ส่งความรู้สึกปวดถูกขัดขวาง 

หลายการศึกษาในปัจจุบัน แนะนำให้ใช้การฝัง IDDS เป็น วิธีรักษาอาการปวดแรกๆของการรักษาอาการปวดจากมะเร็ง เนื่องจากมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการต้านปวดสูงมาก(1)

เครื่องให้ยาแก้ปวดเข้าช่องไขสันหลังมีสองประเภทคือ 

1. ประเภท ช่องทางให้ยาที่ผิวหนัง เพื่อต่อกับเครื่องให้ยาที่อยู่ภายนอกร่างกาย 

2. เครื่องและกระเปาะเก็บยาที่ทำงานด้วยแบตเตอรี่ขนาดเล็กฝังในร่างกายทั้งหมด 

IDDS สามารถใช้กับผู้ป่วยประเภทใดบ้าง (2)

  1. อาการปวดที่เกิดจากมะเร็ง 
  2. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรัง ที่ตอบสนองดีต่อ มอร์ฟีน แต่ไม่สามารถ ทนผลข้างเคียงของมอร์ฟีนชนิดกินได้
  3. อาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ที่เกิดจากการขาด ออกซิเจนชั้นคราวของสมอง (Spastic, cerebral palsy) 

เมื่อไรถึงควรฝังเครื่อง 

เมื่อผู้ป่วยตอบสนองดีต่อยาประเภทมอร์ฟีนมาก่อนแต่เกิดอาการดื้อยา และไม่สามารถเพิ่มปริมาณยาในรูปแบบยารับประทานได้อีก เนื่องจากผลข้างเคียงใด้จากยาในรูปแบบรับประทาน 

เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถรับยาทางปากได้อีกเนื่องจากมีความผิดปรกติของระบบทางเดินอาหาร 

ผลที่ต้องการจากการฝังเครื่อง IDDS 

  1. อาการปวดลดลง 
  2. สามารถกลับไปทำกิจวัตรได้ 
  3. สามารถนอนหลับได้ดีขึ้นโดยไม่มีการตื่นมาปวดกลางดึก 
  4. ลดผลข้างเคียงจาก การรับประทานยามอร์ฟีนในขนาดสูง เช่น ท้องผูก เห็นภาพหลอน ง่วงซึม 
  5. เพิ่มคุณภาพชีวิตโดยรวม 

วิธีการฝัง IDDS 

  • ไม่ว่าจะเป็น IDDS ประเภทใด ผู้ป่วยสามารถทดลอง การให้ยาเข้าทางช่องระหว่างไขสันหลังก่อน เป็นการชั้นคราว ในระยะ 1-7 วัน เพื่อดูผลตอบสนองก่อนการฝังเครื่องหรือ ช่องทางให้ยา 
  • ถ้าผู้ป่วยทานยาละลายลิ่มเลือดหรือ ยาต้านเกล็ดเลือดใดๆต้องหยุดยาก่อนตามเวลาของยาแต่ละชนิด 
  • การฝังทำโดยการใช้ x-ray ในการนำทาง และ ฉีดยาชา ผู้ป่วยจะมีแผลขนาด 1 เซนติเมตรด้านหลัง และ 3-5 เซนติเมตร บริเวณ ข้างลำตัวหรือหน้าท้อง แล้วแต่ประเภทของ IDDS 

ความเสี่ยงของการฝัง IDDS 

  1. เช่นเดียวกับหัตถการทุกประเภท ผู้ป่วยมีความเสี่ยงของการติดเชื้อ เล็กน้อง ถึงแม้ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับยา ปฏิชีวณะเพื่อป้องกันไว้ก่อนแล้ว  
  2. เครื่องเสียจากการใช้งานที่ผิด เช่นการเข้า MRI โดยไม่ได้ปรับเครื่องให้เป็น โปรแกรมที่สามารถเข้า
    MRI ได้ 
  3. เลือดออก หรือ เกิด ลิ่มเลือดใต้ผิวหนัง 
  4. เกิดการรั่วของน้ำไขสันหลัง ทำให้มีอาการปวดหัวเรื้อรัง ซึ่งสามารถรักษาได้โดนการให้สารน้ำ และ ยาแก้ปวด

อ้างอิง

1. Dupoiron D. Intrathecal therapy for pain in cancer patients. Curr Opin Support Palliat Care. 2019;13(2):75-80.

2. Deer TR, Pope JE, Hanes MC, McDowell GC. Intrathecal Therapy for Chronic Pain: A Review of Morphine and Ziconotide as Firstline Options. Pain Med. 2019;20(4):784-98.