การฝังเข็ม คือ การแทงเข็มตามตำแหน่งต่างๆบนร่างกาย เป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีนที่มีการพัฒนา มาเป็นเวลาหลายพันปีและแพร่หลายไปยังภูมิภาคข้างเคียง เช่น ญี่ปุ่น คาบสมุทรเกาหลี ในปัจจุบันองค์การอนามัยโลกให้การรับรองว่าการฝังเข็มสามารถช่วยบรรเทาอาการไม่สบายจากโรค ต่างๆได้หลายอาการ เช่น คลื่นไส้อาเจียน คัดจมูกเนื่องจากโรคภูมิแพ้ นอนไม่หลับ ท้องอืด ท้องผูก อาการปวด ต่างๆ ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดฟัน ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ปวดเข่าเนื่องจากข้อเข่าเสื่อม อาการปวดประสาท (neuropathic pain) เป็นต้น ช่วงระยะฟื้นตัวจากโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก อย่างไร ก็ตามการรักษาด้วยการฝังเข็มควรใช้ควบคู่ไปกับการรักษาด้วยมาตรฐานการแพทย์แผนปัจจุบัน ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่าการฝังเข็มรักษา อาการต่างๆผ่านกลไกใดในร่างกาย ส่วนศาสตร์การแพทย์แผนจีนอธิบายผ่านการปรับสมดุลในร่างกายผ่าน จุดต่างๆบนเส้นลมปราณ
ในทางปฏิบัติผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหารก่อน หลังทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ โรค แพทย์จะฝังเข็มปลอดเชื้อเล่มบางๆตามจุดมาตรฐานการแพทย์แผนจีน เป็นเข็มที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่น กลับมาใช้อีก จำนวนเข็มแตกต่างไปตามลักษณะอาการของแต่ละคน หลังจากนั้นจะคาเข็มไว้ 10-30 นาที บาง กรณีอาจต่อเข็มกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าด้วย อาจต้องทำการฝังเข็มซ้ำอีก 5-10 ครั้งในกรณีที่เป็นเรื้อรัง
อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ เวียนศีรษะ เป็นลม จ้ำเลือดบริเวณที่ปักเข็ม ลมรั่วในช่องปอดกรณี ฝังเข็มบริเวณทรวงอกและหลังส่วนบน ซึ่งพบไม่บ่อย ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดหรือ ผิวหนังมีการติดเชื้อไม่ควรรับการฝังเข็ม