กลับ Academic articles

กลุ่มอาการปวดเฉพาะที่อย่างซับซ้อน
(Complex regional pain syndrome)

Complex regional pain syndrome (CRPS) หมายถึงภาวะที่มีอาการปวด หลังจากการบาดเจ็บโดยเกิดเฉพาะส่วนและอาจลุกลามขึ้นเรื่อย ๆ โดยอาการปวดและผิดปกติจะพบนานกว่าระยะเวลาของการบาดเจ็บ ทำให้เกิดการสูญเสียการทำงานของบริเวณนั้นๆ ซึ่งบริเวณที่ผิดปกติมักตรวจพบ อาการปวดที่ถูกกระตุ้นด้วยการลูบเบา ๆ (allodynia) หรืออาการปวดที่มากขึ้นเมื่อกระตุ้นด้วยความปวดเพียงเล็กน้อย (hyperalgesia) แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ 

  1. CRPS type I : ไม่พบการบาดเจ็บของเส้นประสาท
  2. CRPS type II : เกิดตามหลังการบาดเจ็บของเส้นประสาท ( Major nerve damage) 

สาเหตุ

ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ CRPS เพราะมีผู้ป่วยหลายรายที่ได้รับบาดเจ็บแบบเดียวกัน แต่ก็ไม่พบอาการดังกล่าว โดยเชื่อว่าเป็นการตอบสนองต่อความเจ็บปวดของร่างกายที่ผิดปกติไปของผู้ป่วย  กว่า 90% พบว่ามีประวัติบาดเจ็บนำมาก่อน เช่น 

  • กระดูกแตกหัก
  • ข้อเคล็ดยอก หรือ เอ็นฉีกขาด 
  • ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
  • ถูกของมีคมบาด หรือแม้กระทั่งถูกเข็มทิ่มตำ
  • การได้รับการใส่เฝือก หรือ ภายหลังการผ่าตัด  

อาการแสดง 

  • มีอาการปวดที่รุนแรงและต่อเนื่องกันอย่างยาวนาน และอาการปวดมักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามเวลา 
  • มีความไวต่อการสัมผัส และอากาศเย็น 
  • ลักษณะอาการปวดแสบร้อน รู้สึกเหมือนถูกของมีคมทิ่มแทง  หรือถูกบีบรัดบริเวณขาหรือเท้าที่มีอาการ
  • มีอาการบวมบริเวณที่ปวด
  • อุณหภูมิของผิวหนังเปลี่ยนไปอาจร้อน หรือเย็นกว่าข้างที่ปกติ  
  • ในบางครั้งผิวหนังจะมีเหงื่อออกผิดปกติ มีเล็บหรือขน ที่ยาวเร็วกว่าปกติ
  • สีผิวเปลี่ยน ตั้งแต่ ซีดขาว จนถึงแดงช้ำ  
  • กล้ามเนื้อหดเกร็ง ลีบ และอาจอ่อนแรงตามมา
  • ข้อบวม ข้อติด พิสัยการทำงานของข้อลดลง และถูกทำลาย 

การวินิจฉัย  

การวินิจฉัย CRPS ได้จากประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ  ในปัจจุบันยังไม่มีการตรวจที่จำเพาะเพียงอย่างเดียวต่อภาวะ CRPS  แต่อาจใช้การตรวจต่างๆ เช่น การตรวจ CBC , C reactive protein , Plain X-ray Bone scintigraphy, MRI เพื่อวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆออกไป 

การรักษา CRPS 

1. การรักษาด้วยยา  

  • การรักษาด้วยยา กลุ่ม Antineuropathic drug 
    • Antidepressant : TCA 
    • Anticonvulsant  : Gabapentin , Pregabalin 
    • Ketamine 
    • Lidocaine 
  • การรักษาด้วยยากลุ่ม Antiinflammatory drugs 
    • Steroid 
    • NSAIDS
  • ยากลุ่มอื่นๆ  เช่น 
    • Free radical scavengers
    • Immunoglobulin therapy
    • Bisphosphanate 

2. Interventions 

  • Sympathetic block 
  • Spinal cord stimulation
  • Dorsal root ganglion stimulation

3. Psychotherapy 

4. Physical therapy 

เอกสารอ้างอิง 

1. Urits, I., Shen, A. H., Jones, M. R., Viswanath, O., & Kaye, A. D. (2018). Complex Regional Pain Syndrome, Current Concepts and Treatment Options. Current

Pain and Headache Reports, 22(2). doi:10.1007/s11916-018-0667-7

2. Shim, H., Rose, J., Halle, S., & Shekane, P. (2019). Complex regional pain syndrome: A narrative review for the practising clinician. British Journal of Anaesthesia, 123(2). doi:10.1016/j.bja.2019.03.030

3. Kessler, A., Yoo, M., & Calisoff, R. (2020). Complex regional pain syndrome: An updated comprehensive review. NeuroRehabilitation, 47(3), 253-264. doi:10.3233/nre-208001

4. Eldufani, J., Elahmer, N., & Blaise, G. (2020). A medical mystery of complex regional pain syndrome. Heliyon, 6(2). doi:10.1016/j.heliyon.2020.e03329

5. Stanton-Hicks, M. d‘A. (2019). CRPS: what’s in a name? Taxonomy, epidemiology, neurologic, immune and autoimmune considerations. Regional Anesthesia & Pain Medicine, 44(3), 376–387. doi:10.1136/rapm-2018-100064 

6. Da Costa VV, De Oliveira SB, Fernandes M d CB, Saraiva RÂ. Incidence of regional pain syndrome after carpal tunnel release. Is there a correlation with the anesthetic technique? Rev Bras Anestesiol. 2011;61:425–337 

 7. Complex Regional Pain Syndrome. (n.d.). Pain Management: Expanding the Pharmacological Options, 119-123. doi:10.1002/9781444300796.ch18