เครื่องให้ยาแก้ปวดเข้าช่องไขสันหลังมี เป็นเครื่องที่ใช้แบตเตอรี่ในการเดินยาเข้าช่องไขสันหลังช้าๆอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ป่วยได้ยาที่ต้องการเข้าสู่ที่ออกฤทธิ์หรือสมองได้ทันที่โดยไม่ต้องผ่านการดูดซึมจาก กระเพาะ และ ทางเดินอาหาร ยาที่ได้จะเข้าไปผสมกับน้ำไขสันหลังและอาบบริเวณไขสันหลัง ซึ่งต่อกับสมอง ทำให้ การทำงานของกระแสประสาทที่ส่งความรู้สึกปวดถูกขัดขวาง
หลายการศึกษาในปัจจุบัน แนะนำให้ใช้การฝัง IDDS เป็น วิธีรักษาอาการปวดแรกๆของการรักษาอาการปวดจากมะเร็ง เนื่องจากมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการต้านปวดสูงมาก(1)
เครื่องให้ยาแก้ปวดเข้าช่องไขสันหลังมีสองประเภทคือ
1. ประเภท ช่องทางให้ยาที่ผิวหนัง เพื่อต่อกับเครื่องให้ยาที่อยู่ภายนอกร่างกาย
2. เครื่องและกระเปาะเก็บยาที่ทำงานด้วยแบตเตอรี่ขนาดเล็กฝังในร่างกายทั้งหมด
IDDS สามารถใช้กับผู้ป่วยประเภทใดบ้าง (2)
- อาการปวดที่เกิดจากมะเร็ง
- ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรัง ที่ตอบสนองดีต่อ มอร์ฟีน แต่ไม่สามารถ ทนผลข้างเคียงของมอร์ฟีนชนิดกินได้
- อาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ที่เกิดจากการขาด ออกซิเจนชั้นคราวของสมอง (Spastic, cerebral palsy)
เมื่อไรถึงควรฝังเครื่อง
เมื่อผู้ป่วยตอบสนองดีต่อยาประเภทมอร์ฟีนมาก่อนแต่เกิดอาการดื้อยา และไม่สามารถเพิ่มปริมาณยาในรูปแบบยารับประทานได้อีก เนื่องจากผลข้างเคียงใด้จากยาในรูปแบบรับประทาน
เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถรับยาทางปากได้อีกเนื่องจากมีความผิดปรกติของระบบทางเดินอาหาร
ผลที่ต้องการจากการฝังเครื่อง IDDS
- อาการปวดลดลง
- สามารถกลับไปทำกิจวัตรได้
- สามารถนอนหลับได้ดีขึ้นโดยไม่มีการตื่นมาปวดกลางดึก
- ลดผลข้างเคียงจาก การรับประทานยามอร์ฟีนในขนาดสูง เช่น ท้องผูก เห็นภาพหลอน ง่วงซึม
- เพิ่มคุณภาพชีวิตโดยรวม
วิธีการฝัง IDDS
- ไม่ว่าจะเป็น IDDS ประเภทใด ผู้ป่วยสามารถทดลอง การให้ยาเข้าทางช่องระหว่างไขสันหลังก่อน เป็นการชั้นคราว ในระยะ 1-7 วัน เพื่อดูผลตอบสนองก่อนการฝังเครื่องหรือ ช่องทางให้ยา
- ถ้าผู้ป่วยทานยาละลายลิ่มเลือดหรือ ยาต้านเกล็ดเลือดใดๆต้องหยุดยาก่อนตามเวลาของยาแต่ละชนิด
- การฝังทำโดยการใช้ x-ray ในการนำทาง และ ฉีดยาชา ผู้ป่วยจะมีแผลขนาด 1 เซนติเมตรด้านหลัง และ 3-5 เซนติเมตร บริเวณ ข้างลำตัวหรือหน้าท้อง แล้วแต่ประเภทของ IDDS
ความเสี่ยงของการฝัง IDDS
- เช่นเดียวกับหัตถการทุกประเภท ผู้ป่วยมีความเสี่ยงของการติดเชื้อ เล็กน้อง ถึงแม้ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับยา ปฏิชีวณะเพื่อป้องกันไว้ก่อนแล้ว
- เครื่องเสียจากการใช้งานที่ผิด เช่นการเข้า MRI โดยไม่ได้ปรับเครื่องให้เป็น โปรแกรมที่สามารถเข้า
MRI ได้ - เลือดออก หรือ เกิด ลิ่มเลือดใต้ผิวหนัง
- เกิดการรั่วของน้ำไขสันหลัง ทำให้มีอาการปวดหัวเรื้อรัง ซึ่งสามารถรักษาได้โดนการให้สารน้ำ และ ยาแก้ปวด
อ้างอิง
1. Dupoiron D. Intrathecal therapy for pain in cancer patients. Curr Opin Support Palliat Care. 2019;13(2):75-80.
2. Deer TR, Pope JE, Hanes MC, McDowell GC. Intrathecal Therapy for Chronic Pain: A Review of Morphine and Ziconotide as Firstline Options. Pain Med. 2019;20(4):784-98.