กลับ Academic articles

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (spinal cord stimulator) ที่ไขสันหลัง คืออะไร

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่ขสันหลัง ประกอบไปด้วยสายไฟเล็กๆที่มีขั้ว ต่อกับเครื่องกำเนิดพลังงาน และ แบตเตอรี่ ขนาดเล็กสายไฟและขั้วจะถูกวางอยู่บริเวณช่องระหว่างไขสันหลัง และกระดูกสันหลัง โดยการสอดผ่านรูเข็ม การนำทางโดย x-rayในระดับที่จำเพราะเจาะจงต่อการปวดแต่ละชนิด ส่วน แบตเตอรี่จะถูกวางใต้ผิวหนังบริเวณ หลังหรือ หน้าท้อง แล้วแต่ความเหมาะสม


เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่ไขสันหลัง จะทำหน้าที่ส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อระงับอาการปวดต่งๆในร่างกาย การควมคุมเครื่องจะทำผ่าน รีโมทคอนโทรที่ผู้ป่วยได้รับ หรือ เครื่องมือพิเศษของบริษัท หลักการทำงานของเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่ไขสันหลังยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างแน่ชัด แต่ปัจจุบันชื่อว่า การระงับปวดที่เกิดจากการกระตุ้นไขสันหลัง เกิดจากการยังยั้งกระแสความรู้สึกปวดที่เดินทางจากไขสันหลังสู่สมอง และ เปลี่ยนแปลงเซลล์ในระดับยีนส์ที่ก่อให้เกิดความปวด การกระตุ้นอาจทำให้ความรู้สึกปวดเปลี่ยนเป็นความรู้สึกสั่นเบาๆแทน แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนามากมาย จนมีการระตุ้นแบบที่ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกใดๆ

การฝังเครื่องจะทำโดยแพทย์ เฉพาะทางการระงับปวด และทำผ่าการนำทางของเครื่อง x-ray เพื่อความแม่นยำอย่างสูงสุด การฝั่งควรทำร่ามกับการออกกำลังกาย กายภาพบำบัด ละการรักษาความเครียดที่เกิดจากอาการปวด

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Spinal cord stimulator) ที่ไขสันหลังใช้รักษาความปวดอะไรได้บ้าง (1,2)

ถูกออกแบบมาเพื่อรักษาอาการปวดจากเส้นประสาทที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการรักษามาตรฐาน เช่นการรับประทาน

  • ยาหรือการรักษาโดยหัตถการเพื่อการระงับปวดอื่นๆปวดหลังประเภทเกิดหลังจากการผ่าตัดแก้ไขพยาธิสภาพของกระดูกสันหลังแล้วแต่อาการปวดไม่หาย หรือ ปวดมากขึ้น (Fail back pain syndrome หรือ Post- laminectomy pain syndrome)  อาการอาจแสดงให้เห็นเป็นอาการปวดร้าวลง แขน, ขา หรือปวดกลางหลังเด่น
  • อาการปวดหัวใจ ที่ไม่ทราบสาเหตุ และรักษาด้วยวิธีอื่นๆไม่หาย (Angina pain)
  • อาการปวดที่เกิดจากไขสันหลังถูกตัดขาด จากอุบัติเหตุ (Post-spinal cord injury pain syndrome)
  • อาการปวดจากเส้นประสาทอื่นๆ เช่น เส้นประสาทเสียจากโรคเบาหวาน, การให้เคมีบำบัด หรือ การฉายแสง
  • การปวดเรื้อรังหลังการถูกตัดอวัยวะ ไม่ว่าจะเป็น แขน หรือ ขา
  • การปวดท้องเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ
  • Complex regional pain syndrome
  • การปวดแผลต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัด (Post-surgical pain syndrome)

สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการฝังเครื่องกระตุ้นไขสันหลัง

ทีมแพทย์หวังว่าการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่ไขสันหลังจะทำให้ผู้ป่วย

  • มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • การนอนหลับดีขึ้น
  • ลดการตื่นกลางดึกจากความปวด
  • ลดการใช้ยาแก้ปวดต่างๆลงได้
  • สามารถช้ชีวิตและปฏิบัติภารกิจประจำวันของผู้ป่วยได้ดีขึ้น Who should get a spinal cord stimulator?

การคัดเลือกผู้ป่วย (1)

เนื่องจากแพทย์มีเป้าหมายให้การรักษาเป็นไปได้อย่างดีที่สุด และลดระดับความปวดเรื้อรังได้มากที่สุด การเลือกผู้ป่วยที่จะเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้จึงประกอบด้วย

  • การชักประวัติตรวจร่างกาย โดยผู้ป่วยจะต้องรักษาด้วยวิธีมาตรฐานอื่นๆก่อน จนสรุปว่าไม่สามารถหายจากวิธีมาตรฐานแล้ว จากทีมแพทย์เฉพาะทางระงับปวด
  • การตรวจฉายภาพทางรังสี่วิทยา ทั้ง X-ray และ MRI
  • การตรวจทางจิตเวช เพื่อลดความเครียดและความกังวลที่เกิดจากอาการปวดที่มีอยู่ ให้ได้มากที่สุดก่อนรักษาวิธีนี้

การตรวจทางจิตเวช และการประเมินผู้ป่วยโดยทีมแพทย์เฉพาะทางหลากหลายสาขา จะทำให้โอกาสการหายปวดจากการรักษาโดยการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่ไขสันหลังสูงขึ้น


ขั้นตอนการฝังเครื่อง

1. ขั้นลอง (Trial phase) เป็นขั้นเริ่มต้น ทำโดยฉีดยาชาเฉพาะที่เพื่อสอดสายไฟและขั้วไฟฟ้าผ่านรูเข็ม และ การนำทางโดย X-ray สายจะออกมาทางผิวหนังที่ด้านหลัง เพื่อต่อเครื่องกระตุ้น และ แบตเตอรี่ภายนอกที่ติดไว้ด้วยพลาสเตอร์บริเวณเอว ขั้นตอนนี้ ผู้ป่วยจะได้ รับทราบถึงความรู้สึกหรือ ระดับความปวดที่ลดลงจากกระตุ้นไขสันหลัง ด้วยโปรแกรมต่างๆ และลองเรียนรู้ ปรับตัว สำหรับกรอยู่เครื่องกระตุ้น เป็นเวลา 7-10 วัน ช่วงนี้ผู้ป่วยจะมีเวลาในการตัดสินใจเองว่า การฝังเครื่องให้ประโยชน์กับตนมากเพียงใด ถ้าการลองเป็นไปด้วยดี ผู้ป่วยลดปวดได้ตลอดระยะเวลาการลอง สายจะถูกเอาออก และเปลี่ยนเป็นสายจริงในสัปดาห์ถัดไป

2. ขั้นตอนการฝังสายจริง (Implantation phase) หลังจากผ่านขั้นตอนทดลองและได้ผลดี การฝังสายจะทำโดยวิธีและขั้นตอนเหมือนการทดลอง จากนั้น แทนที่สายจะออกมาบริเวณผิวหนัง สายจะถูกลอดผ่านชั้นไขมันใต้ผิวหนัง มาสู่เครื่องกระตุ้นและแบตเตอรี่ บริเวณท้องหรือหลังระดับเอว การฝัง เครื่องจะทำโดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร ระยะเวลาที่ใช้ในการฝังเครื่องอยู่ที่ประมาณ 1-2 ชั่วโมง

อาการไม่พึงประสงค์จากการฝังเครื่องกระตุ้นฟฟ้าที่ไขสันหลัง (4)

อาการไม่พึงประสงค์สามารถกิดได้จากการรักษาทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยา หรือการฝังเครื่องแต่ผู้ป่วยส่วนน้อยมากๆอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่ไขสันหลังดังนี้

  • การติดเชื้อบริเวณแผลหรือเครื่องที่ฝัง ผู้ป่วยทุกรายจะได้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้ออยู่แล้ว แต่การติดเชื้อก็ยังมีโอกาสเกิดถึงแม้จะน้อยมาก (โอกาส 4%)
  • เลือดออก หรือมี เลือดคั่งบริเวณแผล (โอกาส 9%)

  • สายและขั้วเลื่อนหลุดจากบริเวณที่วางไว้ในตอนแรก ทำให้การคุมปวดลดลง ซึ่งสามารถกิดเมือใดก็ได้ ตั้งแต่ 2สัปดาห์ถึง หลายปี หลังฝังสาย (โอกาส 15%)
  • เข็มทะลุเข้าสู่ช่องไขสันหลังระหว่างขั้นตอนการฝังสาย อาจทำให้เกิดการปวดศีรษะหลังจากเริ่มลุกเดิน รักษาโดยการให้ยาแก้ปวด หรือ ฉีดเลือดและสารน้ำเข้าไปในช่องไขสันหลัง เพื่ออุดรูรั่ว (0.3-7%)
  • เครื่องเสีย การการใช้งานที่ผิด เช่น เข้า MR ขณะที่ยังไม่ได้ปรับเครื่องเป็น ระบบรองรับ MRI
     (โอกาส 2.6-10%)
  • การบาดเจ็บของไขสันหลังละ อัมพาต เกิดได้ในอัตราที่ต่ำมาก



อ้างอิง

1.  Sitzman BT, Provenzano DA. Best Practices in Spinal Cord Stimulation. Spine
(Phila Pa 1976). 2017:42 Suppl 14:567-S71.

2.  Rock AK, Truong H, Park YL, Pilitsis JG. Spinal Cord Stimulation. Neurosurg Clin N Am.

2019:30(2):169-94.

3.  Bendersky D, Yampolsky C. Is spinal cord stimulation safe? A review of its complications.

World Neurosurg. 2014;82(6):1359-68.

4.  Eldabe S, Buchser E, Duarte RV. Complications of Spinal Cord Stimulation and Peripheral

Nerve Stimulation Techniques: A Review of the Literature. Pain Med. 2016;17(2):325-36.