อาการปวดไหล่อาจเกิดจากการบาดเจ็บหรืออักเสพของกล้ามเนื้อ เอ็นหรือตัวข้อไหล่เอง อาการปวดไหล่สามารถเกิดได้ทั้งชนิดเฉียบพลันและต่อเนื่องเรื้อรัง อาการปวดไหล่แบบเฉียบพลันมักกิดจากการบาดเจ็บเช่นอุบัติเหตุ การเล่นกีฬา หรือการใช้กล้ามเนื้อผิดวิธี อาการปวดเรื้อรังนั้นมักกิดจากความเสื่อมหรืออักเสพเรื้อรังของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อไหล่เอง
การวินิจฉัยสาเหตุของการปวดไหล่อาศัยการตรวจร่างกายในบางกรณีอาจมีความจำเป็นต้องส่งตรวจเพิ่มเติมเช่นการตรวจ X-ray, MRI, หรือultrasound อาการบาดเจ็บชนิดที่ไม่รุนแรงสามารถให้การรักษาแบบประคับประคองโดยการทานยา การกายภาพบำบัด และ การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือข้อไหล่ หากการบาดเจ็บเป็นชนิดที่รุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาประคับประคองควรได้รับการพิจรณาเพื่อการรักษาด้วยการผ่าตัด
สาเหตุของการปวดไหล่ที่พบได้บ่อย
2.1 การอักเสพหรือฉีดขาดของเส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่ (Rotator cuff tendonitis or tear)
เส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่นั้นทำหน้าที่สร้างความมั่นคงให้ข้อไหล่และช่วยให้สามารถขยับแขนได้เป็นปกติ เมื่อมีการอักเสพเรื้อรังหรือมีการฉีกขาดของเส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่จากการบาดเจ็บหรือการใช้งานหักโหมจะส่งผลให้มีอาการปวดไหล่และขยับข้อไหล่ได้น้อยลง
การวินิจฉัยภาวะเส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่อักเสพหรือฉีกขาดสามารถทำได้โดยซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการส่งตรวจทางรังสีวิทยาเช่น x-ray, MRI, หรือ ultrasound
การอักเสพหรือฉีกเพียงเล็กน้อยมักให้การรักษาแบบประคับประคองด้วยการทานยา กายภาพบำบัด หรือการฉีดยาเข้าเส้นเอ็น เพื่อลดอาการปวดและกระตุ้นการฟื้นตัวของเส้นเอ็น หากไม่ตอบสนองต่อารรักษาแบบประคับประครองหรือเป็นการฉีกขากที่รุนแรงอาจจำเป็นต้องรับการผ่าตัด
2.2 กลุ่มอาการกดเบียดในข้อไหล่ (Impingement syndrome)
อาการกดเบียดในข้อไหล่เกิดจากเส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่ถูกกดเบียดภายใต้กระดูกหัวไหล่ ผู้ที่มีการกดเบียดในข้อไหล่มักมีอาการปวดไหล่ด้านหน้าและด้านข้าง บางกรณีอาการปวดอาจร้าวลงไปที่ต้นแขนได้ อาการปวดนี้มักจะหนักขึ้นเมื่อยกแขนขึ้นเหนือศรีษะ
การวินิจฉัยกลุ่มอาการกดเบียดในข้อไหล่อาศัยการตรวจร่างกายและการตรวจทางรังสีวิทยาเช่น X-ray, MRI, หรือ ultrasound
ในกรณีที่เป็นไม่รุนแรงสามารถรักษาแบบประคับประคองด้วยการทานยา กายภาพบำบัด หรือการฉีดยาเข้าเส้นเอ็น เพื่อลดอาการปวด หากไม่ตอบสนองต่อารรักษาแบบประคับประครองอาจจำเป็นต้องรับการผ่าตัด
2.3 อาการข้อไหล่ติด (Frozen shoulder)
อาการข้อไหล่ติดเกิดจากการอักเสพอย่างเรื้อรังของเยื่อหุ้มไหล่ทำให้เกิดการหนาตัวและหดรั้ง ทำให้เกิดอาการปวดที่หัวไหล่และจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่นั้นๆ เช่นกางแขนไม่ได้หรือยกแขนเพื่อหวีผมไม่ได้ สาเหตุอาจเกิดจากเกิดบาดเจ็บเรื้อรัง ซึ่งทำให้ไม่สามารถขยับใช้งานข้อไหล่ได้เป็นเวลานาน
การวินิจฉัยกลุ่มอาการข้อไหล่ติดอาศัยการตรวจร่างกายและการตรวจทางรังสีวิทยาเช่น X-ray, MRI, หรือ ultrasound ในกรณีที่เป็นไม่รุนแรงสามารถรักษาแบบประคับประคองด้วยการทานยา กายภาพบำบัด หรือการฉีดยาเข้าข้อไหล่ เพื่อลดอาการปวด หากไม่ตอบสนองต่อารรักษาแบบประคับประครองอาจจำเป็นต้องรับการผ่าตัด
2.4 การอักเสพของเอ็นกล้ามเนื้อ Biceps (Biceps tendonitis)
ผู้ป่วยที่มีการอักเสพของเอ็นกล้ามเนื้อ Bicepsจะมีอาการปวดไหล่ด้านหน้า โดยภาวะนี้มักพบร่วมกับการอักเสพของเส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่ หรือการกดเบียดในข้อไหล่
การวินิจฉัยอาศัยการตรวจร่างกายและการตรวจทางรังสีวิทยาเช่น X-ray, MRI, หรือ ultrasound ในกรณีที่เป็นไม่รุนแรงสามารถรักษาแบบประคับประคองด้วยการทานยา กายภาพบำบัด หรือการฉีดยาที่บริเวณเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ Biceps เพื่อลดอาการปวด หากไม่ตอบสนองต่อารรักษาแบบประคับประครองอาจจำเป็นต้องรับการผ่าตัด
2.5 ข้อไหล่เสื่อม (shoulder Arthritis)
ผู้ป่วยที่มีข้อไหล่เสื่อมจะมีอาการปวดไหล่เมื่อมีการขยับไหล่ ในรายที่เป็นมากขึ้นอาจะปวดในขณะอยู่นิ่ง ข้อไหล่เสื่อมมักเกิดตามหลังการฉีกขาดของกล้ามเนื้อหรือเอ็นหุ้มไหล่ จากโรครูมาตอยด์หรือจากการได้รับบาดเจ็บโดยตรง ในรายที่อาการไม่รุนแรงสามารถให้การรักษาแบบประคับประครองได้ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อแก้ไขเอ็นหุ้มข้อไหล่หรือเปลี่ยนข้อไหล่