กลับ Academic articles

อาการปวดเข่า

อาการปวดเข่าสามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยสูงอายุ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเสื่อมตามวัยของข้อเข่า จากการใช้งานมาเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดการบางตัวของกระดูกผิวข้อ เกิดการเสียดสีภายในข้อเข่า เป็นสาเหตุให้เกิดอาการขัด เจ็บภายในข้อเข่า

จากการศึกษาพบว่าปัจจัยหลักที่ส่งเสริมการเสื่อมของข้อเข่า คือ น้ำหนักตัวที่มากเกิดเกณฑ์ที่เหมาะสม ปัจจัยอื่นๆที่ส่งเสริมการเสื่อมของข่อเข่าก่อวัย ได้แก่ การบาดเจ็บซ้ำๆของข่อเข่า โรคข้อต่างๆ รูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคเก๊าท์

อาการ

บริเวณและความรุนแรงของการปวดเข่านั้นแตกต่างไปตามสาเหตุของโรค อาการและอาการแสดงมักประกอบด้วย 

  • เข่าบวม
  • เข่าติดและขยับยากขึ้น 
  • อ่อนแรงและไม่สามารถยื่นได้อย่างมั่นคง โดยเฉพาะเวลายืดตรง
  • มีเสียงขณะขยับข้อเข่า 

ข้อเข่าประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ

1.กระดูกปลายต้นขา และ กระดูกหน้าแข้ง

2.ลูกสะบ้า 

3. กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อ

4. เส้นประสาทรับความรู้สึกรอบๆข้อ 

ข้อเข่ามีลักษณะคล้ายข้อพับ มีกระดูกอ่อนหุ้มส่วนปลายเพื่อลดแรงกระแทก ลดแรงเสียดทาน เมื่อข้อเข่าเสื่อม เกิดแรงเสียดทานภายในข้อเกิดการอักเสบของเยื่อบุรอบๆข้อ เกิดความเจ็บปวดส่งไปตามกระแสประสาทรับความรู้สึก ทำให้ผู้ป่วยรับความเจ็บปวดของข้อเข่าตามมา 

ท่านควรพบแพทย์เมื่อ

  • ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ หรือ รู้สึกว่าเข่าไม่สามารถทนต่อการยืนตรงได้ 
  • เข่าบวมอย่างขัดเจน
  • ไม่สามารถยืดตรง หรืองดได้สุด 
  • พบว่าเข่าของท่านผิดรูป 
  • มีไข้ร่วมกับอาการปวด แดง ร้อน ที่เข่า 
  • ปวดเข่ามาก ตามมาจากอุบัติเหตุ เช่น กระแทกวัตถุใด ๆ หรือ หกล้ม 

ตัวอย่างสาเหตุของการปวดเข่าจากการบาดเจ็บ ที่พบบ่อย

  • เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด (anterior cruciate ligament tear, ACL tear)  โดย ACL เป็นเอ็นพันรอบเข่าหนึ่งจาทั้งหมด 4 เส้นที่รัดเข่าไว้กับกระดูกขาทั้งสามอัน ACL ฉีกขาดพบได้มากในนักกีฬา 
  • กระดูกแตก หรือ หัก สามารถพบได้ที่ข้อเข่าเอง จากการหกล้มหรือ อุบัติเหตุใด ๆ ผู้ป่วยที่มี โรคกระดูกพรุนอาจเกิดการแตกหักได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป 
  • หมอนรองข้อเข่าฉีกขาด หมอนรองข้อเข่าหรือ meniscus เป็นกระดูกอ่อนที่มีหน้าที่รองรับการกระแทกของหัวเข่า การฉีกขาดมักเกิดตามมาจากการขยับอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เข่ารับน้ำหนักอยู่
  • ถุงน้ำรอบเข่าอักเสบ (knee bursitis) รอบ ๆ เข่าจะมีถุงน้ำเรียกว่า bursa มีทำหน้าที่รองรับข้อเข่าให้มีการเคลื่อนขยับอย่างราบรื่น ถุงน้ำอาจมีการอักเสบหรือติดเชื้อได้ 
  • เอ็นลูกสะบ้า อักเสบ (patella tendinitis) เอ็นลูกสะบ้าทำหน้าที่ในการขยับเช่น เตะ กระโดด การอักเสบนี้มักตามมาหลังจากการฉีกขาดและบาดเจ็บของเอ็นลูกสะบ้า มักพบใน นักกีฬาประเภท วิ่ง ถีบจักรยาน และกีฬาที่มีการกระโดดต่าง ๆ 

ตัวอย่างสาเหตุของการปวดเข่าจากกลไกการขยับเขยื้อน ที่พบบ่อย 

  • ข้อหลวม อุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และอายุที่มากขึ้นอาจทำให้ชิ้นส่วนของกระดูกหรือกระดูกอ่อนแตกออกและหลุดลอยอยู่ในน้ำข้อเข่า ชิ้นส่วนแหล่านั้นอาจขัดขวางการขยับของข้อทำและทำให้ข้อติดในที่สุด
  • Iliotibial band syndrome เกิดจากเส้นพังผืดที่ยึดระหว่างสะโพกและด้านอกของเข่าตึงขึ้นจากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม และถูไปกับส่วนของกระดูกขา อาการนี้มักจะเกิดจากนักกีฬาที่วิ่ง หรือ ถีบจักรยาระยะไกล ๆ
  • ลูกสะบ้าเคลื่อน เกิดจากการขยับอย่างรวดเร็วของเข่าทำให้ลูกสะบ้าเคลื่อน สังเกตง่าย จากความผิดรูปของหัวเข่า
  • การปวดข้อสะโพก และ เท้า เมื่อมีอาการปวดบริเวณดังกล่าวอาจทำให้การท่าทางในการเกิดของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไป มีผลกระทบกับกลไกการเดินของขาทั้งข้างและเกิดอาการปวดเข่าตามมาในที่สุด

ตัวอย่างสาเหตุของการปวดเข่าอักเสบ ที่พบบ่อย 

  • ข้อเสื่อม ข้อเสื่อมประเภท osteoarthritis เกิดจากการใช้งานมานาน หรือชราภาพ ซึ่งเป็นชนิดของข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุด 
  • Rheumatoid  เป็นข้อเสื่อมที่เกิดจากภาวะทางระบบภูมิคุ้มกันของร่างการต่อต้านการทำงานของข้อตนเอง ทำให้สามารถปวดได้พร้อม ๆ กันหลายข้อ การปวดจากโรคนี้มักมีลักษณะพิเศษคือเป็นพร้อมกันหลายข้อ และสลับสับเปลี่ยน รวมถึงมีช่วงเป็นและหายสลับกันไป 
  • เกาต์ เป็นอาการอักเสบที่เกิดจากการตกผลึกของกรดยูริก ภายในข้อซึ่งพบบ่อยที่สุดที่บริเวณนิ้วโป้งเท้า แต่ก็สามารถพบที่ข้อเข่าได้เป็นครั้งคราวเช่นกัน 
  • เกาต์เทียม (pseudogout) เกิดจากผลึกของ แคลเซียม แทนที่จะเป็นผลึกของ กรดยูริก ซึ่งเกาต์เทียมเป็นโรคที่พบบ่อยกว่าที่ข้อเข่า เมื่อเทียบกับโรคเกาต์  
  • ข้อติดเชื้อ การติดเชื้อภายในข้อจะทำให้มีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน และมักมีไข้ร่วมด้วย โดยผู้ป่วยมักจะมีประวัติอุบัติเหตุ นำมาก่อนอาการปวด การติดเชื้อของข้อเป็นโรคที่อันตรายมาก สามารถทำให้ข้อถูกทำลายได้อย่างถาวร ถ้าสงสัยภาวะนี้ควรพบแพทย์ทันที 

อาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อม

  • อาการโรคข้อเข่าเสื่อมระยะแรกเริ่มปวดเข่าตอนเคลื่อนไหว เช่น เดิน วิ่ง ขึ้นบันได ย่อขา แต่อาการจะหายไปหรือดีขึ้นเมื่อทำกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้ข้อเข่า เวลามีการเคลื่อนไหวบางคนจะมีอาการเสียวหัวเข่า ข้อฝืดเมื่อหยุดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานานเมื่อขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ
  • อาการโรคข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรงอาการปวดเข่า เจ็บเข่าจะรุนแรงมากขึ้นบางครั้งปวดเวลากลางคืนเมื่อเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาเต็มที่จะมีอาการปวดหรือเสียวบริเวณกระดูกสะบ้าหากมีการอักเสบจะมีข้อบวมร้อนและตรวจพบน้ำในช่องข้อถ้ามีข้อเสื่อมมานานจะพบว่าเหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุดกล้ามเนื้อต้นขาลีบข้อเข่าโก่งหลวมหรือบิดเบี้ยวผิดรูปทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบากและมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับ

การป้องกัน 

  • ลดน้ำหนักเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะลดการทำงานของข้อเข่าลงทำให้ลดอบัติการณ์ของโรคต่างๆของข้อเข่าได้
  • เพิ่มและเสริมสร้างกล้ามเนื้อโดยเฉพาะนักกีฬาควรมีกล้ามเนื้อรอบเข่าที่แข็งแรงเพื่อรองรับการขยับและการกระแทกแทนข้อเข่า 
  • เมื่อต้องการเล่นกีฬาหรือขยับเขยื้อนข้อเข่าควรทำด้วยท้วงท่าที่เหมาะสมซึ่งมักต้องการการฝึกจากผู้ฝึกสอนมืออาชีพ
  • กรณีที่อายุมากขึ้นการออกกำลังการที่ทำให้เกิดการกระแทกของข้อเข่าอาจไม่ค่อยเหมาะสมนักแนะนำให้ออกกำลังกายที่มีการกระแทกต่ำเช่นว่ายน้ำ 

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

  1. การรักษาโดยไม่ใช้ยาโดยลดการกดที่ข้อเข่า คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม การใช้ประคบร้อน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่ง ยืน เดิน ควรลดน้ำหนักตัว ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หรืออาจจะใช้ไม้เท้าช่วยเดินเพื่อลดแรงกดในช่วงที่พยายามลดอาการเจ็บเข่า ปวดเข่า
  2. การรักษาโดยการใช้ยา
    • ยาแก้ปวดพาราเซตามอลเป็นยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกในกรณีที่ปวดไม่มากให้ประสิทธิผลดีและปลอดภัย
    • ยาทาเฉพาะที่ประเภทยาแก้ปวดและต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ใช้ทานวดซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความร้อนเฉพาะที่
    • ยาต้านการอักเสบแบบไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs)ในรูปของยากินและยาฉีดจะช่วยลดอาการปวดและอักเสบได้ดีควรใช้ยาอย่างระมัดระวัง ยาคลายกล้ามเนื้อการอักเสบทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบเกร็งตึงได้การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
    • การฉีดน้ำข้อเข่าเทียม
  1. การรักษาโดยหัตถการระงับปวด การฉีดยาชาร่วมกับยาต้านการอักเสบไปยังเส้นประสาทรับความรู้สึกของข้อเข่า หรือ การจี้เส้นประสาทรับความรู้สึกของข้อเข้าด้วยคลื่นความถี่วิทยุ เพื่อผลการรักษาที่ยาวนานขึ้น การจี้เส้นประสาทด้วนคลื่นความถี่วิทยุ ทำให้สามารถชะลอการผ่าตัดออกไปได้ และยังใช้รักษากรณีผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อแล้วยังคงมีอาการปวดเรื้อรังไม่ได้ผลดีจากการผ่า  
  2. การรักษาด้วยการผ่าตัดข้อเข่าเปลี่ยนข้อเข่าเทียม