กลับ Academic articles

ปวดบริเวณใบหน้าเรื้อรัง

อาการปวดบริเวณใบหน้าเรื้อรังเป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อย และโดยปกติอาจมีสาเหตุมาจากการอักเสบของเหงือกและฟัน แต่อย่างใดก็ตาม ยังมีสาเหตุของอาการปวดหน้าอีกบางสาเหตุที่อาจเจอได้อีกดังนี้

ตัวอย่างโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดบริเวณหน้าเรื้อรัง

  1. โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (trigeminal neuralgia) เป็นอาการปวดหน้าแบบแปล๊บๆเหมือนโดนไฟช็อก มักเป็นข้างเดียว ส่วนใหญ่มักปวดบริเวณแก้มหรือกรามตามแขนงเส้นประสาทใบหน้า (trigeminal branch) ซึ่งถูกกระตุ้นได้จากปัจจัยต่างๆเช่นการเคี้ยว/กลืน สาเหตุเกิดได้ตั้งแต่ไม่ทราบพยาธิสภาพแน่ชัด ไปจนถึงมีการกดของเส้นประสาททำให้เกิดอาการ ต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติมในการช่วยวินิจฉัย
  1. ภาวะความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (TMJ disorder) เป็นโรคของกล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูก มักมาด้วยอาการปวดหน้าข้างเดียว บริเวณด้านหน้ารูหู ตรงข้อต่อขากรรไกร ความปวดจะเพิ่มขึ้นเมื่อกดตรงบริเวณนั้นหรือมีการขยับขากรรไกรเช่นการอ้าปาก 
  1. อาการปวดปลายประสาทหลังเป็นงูสวัด (postherpetic neuralgia) ส่วนใหญ่มักเป็นตามหลังจากเกิดงูสวัดบริเวณใบหน้า โดยมักจะปวดในตำแหน่งที่เคยมีผื่นขึ้น มักปวดแบบแสบร้อนหรือเหมือนมีเข็มแทง ร่วมกับอาจมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อลูบผ่าน
  1. เยื่อบุโพรงอากาศข้างจมูกอักเสบ (sinusitis) มักมาด้วยอาการปวดตื้อๆบริเวณกลางหน้าเป็นได้ทั้งสองข้างหรือข้างเดียว เนื่องจากเป็นจุดที่มีโพรงอาการเชื่อมกับจมูก อาการที่มักพบร่วมคือมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกข้น มักมีอาการมากขึ้นหลังเป็นหวัดหรือมีตัวกระตุ้นเช่นฝุ่นละอองที่ทำให้แพ้ อาจต้องวินิจฉัยโรคแยกออกจากไมเกรนเนื่องจากมาด้วยอาการที่คล้ายๆกันได้

ทั้งนี้ยังมีสาเหตุของการเกิดอาการปวดบริเวณใบหน้าอีกมากมายที่ไม่ได้นำเสนอในบทความนี้ หากคุณมีอาการปวดบริเวณในหน้าเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไป

การรักษาอาการปวดบริเวณใบหน้าเรื้อรัง

  1. กำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเช่น หากมีอาการไซนัสอักเสบ หรือมีปัญหาทางทันตกรรม การรักษาฟันหรือให้ยาปฏิชีวนะจะเป็นการช่วยบรรเทาอาการปวดใบหน้าได้ 
  2. การรักษาโดยการรับประทานยาแก้ปวดชนิดต่างๆ เมื่อวินิจฉัยได้แล้ว จะมีการให้ยาแก้ปวดที่มีความเหมาะสมกับอาการปวดบริเวณใบหน้า เช่น ยาลดการอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ ยาบรรเทาอาการปวดเส้นระสาทชนิดต่างๆเป็นต้น
  3. หากไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาแก้ปวด การฉีดยาเพื่อระงับปวดหรือทำหัตถการเพื่อปรับเปลี่ยนการส่งสัญญาณรับความรู้สึกปวดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ (*ภายใต้การพิจารณาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่สามารถทำได้ในทุกกรณี และไม่ได้ให้ผลการรักษา 100%)
  4. การผ่าตัด ในกรณีที่มีก้อนไปกดเส้นประสาท ไซนัสอักเสบเรื้อรังหรือเป็นซ้ำๆ หรือมีการเสื่อมของข้อต่อขากรรไกรรุนแรง การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกนึงที่สามารถลดอาการปวดได้ (*ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ)

อ้างอิง

  1. Van Deun L, de Witte M, Goessens T, Halewyck S, Ketelaer MC, Matic M, Moens M, Vaes P, Van Lint M, Versijpt J. Facial Pain: A Comprehensive Review and Proposal for a Pragmatic Diagnostic Approach. Eur Neurol. 2020;83(1):5-16. doi: 10.1159/000505727. Epub 2020 Mar 27. PMID: 32222701.
  2. De Corso E, Kar M, Cantone E, Lucidi D, Settimi S, Mele D, Salvati A, Muluk NB, Paludetti G, Cingi C. Facial pain: sinus or not? Acta Otorhinolaryngol Ital. 2018 Dec;38(6):485-496. doi: 10.14639/0392-100X-1721. PMID: 30623894; PMCID: PMC6325651.
  3. Zakrzewska JM, Jensen TS. History of facial pain diagnosis. Cephalalgia. 2017 Jun;37(7):604-608. doi: 10.1177/0333102417691045. Epub 2017 Feb 9. PMID: 28181442; PMCID: PMC5458869.
  4. Hadley GR, Gayle JA, Ripoll J, Jones MR, Argoff CE, Kaye RJ, Kaye AD. Post-herpetic Neuralgia: a Review. Curr Pain Headache Rep. 2016 Mar;20(3):17. doi: 10.1007/s11916-016-0548-x. Erratum in: Curr Pain Headache Rep. 2016 Apr;20(4):28. PMID: 26879875.